1. จงอธิบายความหมายของคำดังต่อไปนี้ พร้อมยกตัวอย่างเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน
เทคโนโลยี หมายถึง เทคโนโลยี เป็นการนำเอาแนวความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการ ตลอดจนผลผลิตทางวิทยาศาสตร์ทั้งในด้านสิ่งประดิษฐ์และวิธีปฏิบัติมาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่งขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น เช่นโทรศัพท์, อินเทอร์เน็ต
สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ความรอบรู้ของแต่ละคนขึ้นอยู่กับการเรียกใช้ข้อมูล ความรู้เกิดจากข้อมูลข่าวสารต่างๆ ข้อมูลมาจากสื่อ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่การสื่อสารระหว่างบุคคล ดังนั้นถือได้ว่ายุคนี้เป็นยุคสารสนเทศ เช่นการฝาก ถอนเงินผ่านเครื่อง ATM การจองตั๋วเครื่องบิน การลงทะเบียน ฯลฯ
เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีที่ใข้จัดการสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผล การแสดงผลลัพธ์ การทำสำเนา และการสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมและสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ เช่นการทำสำเนา เป็นการทำสำเนาข้อมูลหรือสารสนเทศที่จัดเก็บไว้ในสื่ออิเลคทรอนิกส์ชนิดต่างๆ ให้มีหลายชุด เพื่อสะดวกต่อการเก็บรักษา และนำไปใช้ อุปกรณืที่ใช้ทำสำเนา เช่นเครื่องพิมพ์ เครื่องถ่ายเอกสาร แผ่นบันทึก ฮาร์ดดิสต์ หรือ CD-ROM
ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของสถานที่ ฯลฯ โดยอยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมต่อการสื่อสาร การแปลความหมายและการประมวลผล ซึ่งข้อมูลอาจจะได้มาจากการสังเกต การรวบรวม การวัด ข้อมูลเป็นได้ทั้งข้อมูลตัวเลข หรือสัญลักษณ์ใดๆที่สำคัญจะต้องมีความเป็นจริง และต่อเนื่อง ตัอวอย่างของข้อมูล เช่น คะแนนสอบ ชื่อนักเรียน เพศ อายุ
ฐานความรู้ หมายถึง เป็นข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้ใช้ในการแก้ปัญหา เพื่อใช้เป็นฐานในการตัดสินใจของเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบผู้เชี่ยวชาญ 9)ระบบที่อาศัยความรู้เป็นพื้นฐาน เป็นระบบที่มีความเกี่ยวข้องกับการช่วยตัดสินใจ ซึ่งสามารถใช้ได้กับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS) ได้ทุกเรื่อง เช่น ระบบประมวลรายการที่เปลี่ยนแปลง(Transaction process systems) ระบบรายงานเพื่อการจัดการ(Management reporting systems) และระบบสำนักงาน (Office systems)
2. โครงสร้างสารสนเทศมีอะไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
1. ระดับล่างสุด เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ทำงานประมวลผลข้อมูล ซี่งเรียกว่าระบบการประมวลผลรายการ (transaction processing system)
2. ระดับที่สอง เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศ เพื่อใช้ในการวางแผนการตัดสินใจและการควบคุมที่เกี่ยวเนื่องกับงานประจำวัน ซึ่งเรียกว่า งานควบคุมการดำเนินงาน (operation control)
3. ระดับที่สาม เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหารจัดการระดับกลางใช้ในการจัดการและวางแผนระยะสั้นตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 1 ปี ซึ่งเรียกว่า งานควบคุมการจัดการ (management control)
4. ระดับที่สี่ เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหารจัดการระดับสูง สำหรับใช้ในงานวางแผนระยะยาว ซึ่งเรียกว่าการวางแผนกลยุทธ์
3. วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศมีอะไรบ้าง จงอธิบาย จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
1. ยุคการประมวลผลข้อมูล (data processing era) เป็นยุคแรก ๆ ของการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ วัตถุประสงค์ช่วงนั้น คือเพื่อการคำนวณและการประมวลผลข้อมูล ประจำวันเพื่อลดค่าใช้จ่ายและบุคลากรลง
2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (management information system : MIS) เป็นยุคที่มีการนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในงานด้านการตัดสินใจ ดำเนินการ ควบคุม ติดตามผล ตลอดจนวิเคราะห์งานของผู้บริหาร
3. ระบบจัดการทรัพยากรสารสนเทศ (information resource management system : IRMS) เป็นการเรียกใช้สารสนเทศ เพื่อที่จะช่วยในการตัดสินใจในการนำองค์กรหรือหน่วยงานไปสู่เป้าหมายอันเป็นความสำเร็จ
4. ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ (information technology era) ในปัจจุบันเทคโนโลยีมีความเจริญอย่างรวดเร็ว ทำให้มีทางเลือกและเกิดรูปแบบใหม่ ๆ ของสินค้าและบริการ รวมเรียกว่าเป็นที่มีการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโทรคมนาคม เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดทำระบบสารสนเทศ โดยมุ่งเน้นของการให้บริการสารสนเทศ
ตัวอย่าง ระบบเอทีเอ็ม (Automatic Teller Machine : ATM) หรือระบบถอนเงิน หรือฝากเงินของธนาคาร โดยอัตโนมัติ เป็นระบบที่อำนวยความสะดวกสบาย อย่างมากให้แก่ผู้ใช้ บริการธนาคาร
บทที่2
อุปกรณ์รับข้อมูลเข้า(Input Device) มีหน้าที่อะไรและมีอุปกรณ์อะไรบ้าง
อุปกรณ์รับข้อมูลเข้า(Input Device) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการรับข้อมูลเข้าไปสู่หน่วยประมวลผลกลาง ผู้ใช้สามารถป้อนข้อมูลคำสั่งต่างๆผ่านอุปกรณ์ เหล่านี้ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ ได้แก่
1. แป้นพิมพ์(Keyboard) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับข้อมูลที่สามารถพิมพ์หรือเคาะได้ เช่น ตัวเลข ตัวอักษร
2. เมาส์(Mouse) เป็นอุปกรณ์สำหรับรับข้อมูลจากการชี้ตำแหน่งบนจอภาพ
3. แทร็กบอล(Track Ball) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการรับข้อมูล โดยการชี้และเลือกข้อมูลผ่านทางจอภาพเช่นเดียวกับเมาส์แต่ แทร็กบอลจะเลื่อนตัวชี้โดยการหมุนลูกบอลที่อยู่ด้านบน
4. จอยสติก (Joy Stick) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลมีลักษณะเป็นคันโยกขึ้นลง ซ้ายขวา เพื่อควบคุมตำแหน่งของตัวชี้
5. เครื่องอ่านบาร์โค๊ต (Bar Code Reader) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลจากรหัสของเลขฐานสองที่อยู่ในรูปของรหัสแถบ (Bar Code)ซึ่งประกอบด้วยแถบสีดำและยาว ความกว้างของแถบสีดำตัวกำหนดรหัสที่แทนค่าของตัวเลข
6. สแกนเนอร์ (Scanner) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูล โดยการอ่านหรือสแกน(Scan) ข้อมูลที่ต้องการ เครื่องสแกนจะมีเซลล์ไวแสงที่ตรวจจับความเข้มของแสงที่สะท้อนจากข้อมูล แล้วแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอลให้เครื่องคอมพิวเตอร์ดำเนินการต่อไป
7. เครื่องอ่านอักขระด้วยแสง (Optical Character Reader: OCR) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลที่เป็นอักขระจากเอกสารต่างๆ เช่น ตัวอักษรบนเช็ค ตัวอักษรบนเอกสารอื่นๆ
8. เครื่องอ่านหมึกพิมพ์แม่เหล็ก (Magcnetic Ink Character Reader: MICR) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลที่พัฒนาเพื่อใช้สำหรับการอ่านสัญลักษณ์ที่พิมพ์จากหมึกพิมพ์ที่ผสมกับผงเหล็กออกไซด์
9. ปากกาแสง (Light Pen) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลอีกชนิดหนึ่งโดนการแตะปากกาแสงไปตามตำแหน่งหรือทิศทางที่ต้องการ มักใช้ในงานออกแบบ
10. จอสัมผัส (Touch Screens) เป็นอุปกรณ์สามารถทำงานได้ทั้งการรับและการแสดงผลการรับข้อมูลจะใช้นิ้วสัมผัสที่หน้าจอ เพื่อเลือกเมนู เช่น หน้าจอของเครื่อง ATM
11. กล้องถ่ายภาพดิจิตอล (Digital Camera) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลโดยการถ่ายภาพ ข้อมูลที่ได้จะถูกเปลี่ยนเป็นสัญญาณดิจิตอลแล้วเก็บข้อมูลดิจิตอลนั้นไว้ในอุปกรณ์ CCD (Charge Coupled Device) แล้วส่งข้อมูลไปประมวลผลในคอมพิวเตอร์
12. ไมโครโฟน (Microphone) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลจากเสียงพูดโดยตรง เสียงที่ได้จะถูกแปลงสัญญาณเป็นสัญญาณดิจิตอล เพื่อให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลได้
อุปกรณ์ของหน่วยประมวลผล มีหน้าที่อะไรและมีอุปกรณ์อะไรบ้าง
หน่วยประมวลผลจะทำหน้าที่ควบคุมและปฏิบัติการตามขั้นตอนของโปรแกรม ในขณะที่หน่วยความจำจะเป็นที่พักของโปรแกรม ข้อมูลนำเข้า และผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลก่อนนำออกไปแสดงทางอุปกรณ์แสดงผล ได้แก่
1. เทปแม่เหล็ก (Magnetic Tape) เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บข้อมูลมาตั้งแต่ยุคแรกจนถึงปัจจุบัน ลักษณะของเทปแม่เหล็กบันทึกข้อมูลคล้ายกับเทปแม่เหล็กที่ใช้ในการบันทึกเสียง
2. จานแม่เหล็ก (Magnetic Disk) เป็นหน่วยความจำที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง (DASD: Direct Access Storage Device)การบันทึกและการอ่านข้อมูลบนจานแม่เหล็กใช้หลักการเดียวกับเทปแม่เหล็ก แต่การเข้าถึงเนื้อที่เก็บข้อมูลนั้นๆ อาศัยตำแหน่งที่ถูกกำหนดโดยระบบปฏิบัติการ
3. จานแม่เหล็กแบบอ่อนหรือดิสก์เก็ต (Floppy Disk: Diskette) เป็นจานแม่เหล็กชนิดหนึ่งที่สร้างจากแผ่นไมลาร์ (Mylar) ฉาบด้วยเหล็กออกไซด์ เป็นจานแม่เหล็กแผ่นเดียว และห่อหุ้มด้วยพลาสติก
4. ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) เป็นหน่วยความจำสำรองที่มีหลักการเช่นเดียวกับจานแม่เหล็กส่วนที่เก็บข้อมูลทำจากแผ่นโลหะ เรียกว่า แพลตเตอร์ (Platters) และฉาบด้วยเหล็กออกไซด์ ส่วนที่เป็นเครื่องอ่านฮาร์ดดิสก์ถูกออกแบบให้เป็นชุดเดียวกันกับส่วนเก็บข้อมูล
5. ซีดีรอม (CD-ROM: Compact Disk Read Only Memory) เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูล โดยใช้เทคโนโลยีแสงเลเซอร์ เป็นเทคโนโลยีเดียวกับซีดีเพลง การบันทึกข้อมูลบน CD-ROM ต้องใช้เครื่องมือพิเศษจากบริษัทผู้ผลิต ข้อมูลบน CD-ROM จะถูกเรียงกันเป็นแถวยาวจับเป็นก้นหอย
6. ซีดี- อาร์ (CD-R: CD-Recordable) เป็น CD ที่สามารถบันทึกข้อมูลโดยใช้เครื่องมือที่ เรียกว่า CD-R Drive โดยการติดตั้งไดร์ฟนี้เข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถบันทึกข้อมูลจากการประมวลผล ลงบน CD-R ได้ รวมทั้งการอ่านข้อมูลจาก CD-R ได้ด้วย
7. วอร์มซีดี (WORM CD: Write One Read Many CD) เป็น CD ที่บันทึกข้อมูลได้ครั้งเดียว แต่สามารถอ่านข้อมูลกี่ครั้งก็ได้ ความจุตั้งแต่ 600 MB ถึง 3 GB ขึ้นไป ซึ่งเมื่อบันทึกข้อมูลจากเครื่องใดจะต้องใช้เครื่องอ่านรุ่นเดียวกัน
8. เอ็มโอดิสก์ (MO: Magneto Optical Disk) เป็นจานแม่เหล็กที่ใช้เทคโนโลยีแม่เหล็กและเทคโนโลยีแสงเลเซอร์ร่วมกัน ทำให้การบันทึกและการอ่านข้อมูลทำได้หลายครั้งเช่นเดียวกับจานแม่เหล็กทั่วไป ขนาดของดิสก์ใกล้เคียงกับดิสก์เก็ต 3.5 นิ้ว แต่มีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อย
9. ดีวีดี (DVD: Digital Versatile Disk) เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดสำหรับอุปกรณ์ในการบันทึกข้อมูล แผ่นดีวีดีสามารถเก็บข้อมูลได้ต่ำสุดที่ 4.7 GB ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลเป็น 600 KB ต่อวินาที เครื่องอ่านดีวีดีสามารถใช้กับซีดีรอมได้ด้วย
อุปกรณ์แสดงผลมีหน้าที่อะไรและมีอุปกรณ์อะไรบ้าง
อุปกรณ์แสดงผล เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับผลจากการประมวลผลที่เก็บไว้ในหน่วยความจำหลัก ออกแสดงตามลักษณะของอุปกรณ์ ซึ่งมีอยู่ไม่กี่ประเภทที่นิยมใช้ คือ
1. จอภาพ (Monitor) เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่สามารถติดต่อกับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ได้ทันทีที่มีการประมวลผลเกิดขึ้น
2. เครื่องพิมพ์ (Printer) เป็นอุปกรณ์แสดงผลออกทางกระดาษ สามารถแบ่งเครื่องพิมพ์ตามวิธีการพิมพ์ได้ 2 ประเภท คือ 1. เครื่องพิมพ์ประเภทกระทบ 2. เครื่องพิมพ์ชนิดไม่กระทบ
3. เครื่องวาดรูปพลอตเตอร์ เป็นอุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ โดยการสร้างรูปภาพแบบทางวิศวกรรม ทางสถาปัตยกรรม ซึ่งเป็นภาพขนาดใหญ่ มีรายละเอียดเช่นเดียวกับระบบเคด หรือพิมพ์เขียว
4. เครื่องแสดงผลลัพธ์ด้วยเสียง ลำโพง เป็นอุปกรณ์ที่แสดงผลลัพธ์ด้วยเสียง ที่เกิดจากการ์ดเสียง หน้าที่หลักคือ เมื่อการ์ดเสียงเปลี่ยนสัญญาณเสียงดิจิตอลให้เป็นกระแสไฟฟ้า ผ่านมายังลำโพงทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของแม่เหล็กและเกิดการสั่นสะเทือนของลำโพง มีผลทำให้เกิดเสียงในระดับต่างๆ
บทที่ 3
ระบบสารสนเทศประกอบไปกี่ส่วน คืออะไรบ้าง
ระบบสารสนเทศประกอบไปด้วย 5 ส่วนหลักๆดังนี้
1. ข้อมูล คือ ทรัพยากรสำคัญซึ่งแบ่งย่อยได้เป็น ข้อมูลทั่วไป, ข้อความ, ภาพ, เสียง, Tactile data และข้อมูลจากเครื่องรับรู้
2. การจัดเก็บ คือ ขั้นตอน หรือ วิธีการรักษาไว้ซึ่งข้อมูล
3. เครื่องมือที่ใช้จัดเก็บข้อมูลและประมวลผล คืออุปกรณ์ที่ใช้จัดเก็บข้อมูล เช่น computer
4. การประมวลผล
5. สารสนเทศ คือ ผลผลิตของระบบสารสนเทศ ซึ่งประกอบไปด้วยความถูกต้อง ตรงประเด็น ทันสมัย สมบูรณ์ กะทัดรัด
ปัจจุบันนิยมประมวลผลด้วยอะไรบ้าง นศ.คิดว่าเพราะอะไร จงให้เหตุผล
ปัจจุบันนิยมประมวลผลด้วยแรงงานคน และเครื่องมืออิเล็กทรอนิคส์ เนื่องจากปัจจุบันลักษณะการทำงานและชีวิตประจำวันได้ถูกพัฒนาให้มีการใช้หรือบริโภคข้อมูลจำนวนมาก ซึ่งส่งผลให้การประมวลผลด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิคส์ มีความสำคัญมากขึ้น เพื่อความรวดเร็วและแม่นยำในการประมวลผล แต่เนื่องจากเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันไม่สามารถใช้เครื่องมืออิเล็คทรอนิคส์ได้ตลอดเวลา ดังนั้นหากเป็นการประมวลผลด้วยข้อมูลจำนวนน้อยๆ ง่ายๆ
ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิคส์ แบ่งได้กี่วิธี อะไรบ้าง
ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิคส์ สามารถแบ่งได้เป็น 3 วิธี หรือ 3ขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนรวบรวมข้อมูล
|
ขั้นตอนประมวลผล
|
ขั้นตอนแสดงผลลัพธ์
|
- การลงรหัส
- การตรวจสอบ
- การจำแนก
- การบันทึกข้อมูลลงสื่อ
|
- การคำนวณ
- การเรียงลำดับข้อมูล
- การสรุป
- การเปรียบเทียบ
|
- รูปแบบเอกสาร
- การนำเสนอบนจอภาพ
- ฯลฯ
|
ซึ่งทั้ง 3 ขั้นตอนจะทำงานสอดคล้องกัน เช่น การพิมพ์ข้อมูลลงบนคอมพิวเตอร์ การกดปุ่มบนแป้นพิมพ์จะอยู่ในขั้นตอนรวบรวมข้อมูล ระบบรับข้อมูลที่ถูกพิมพ์ลงไปแจกแจงลักษณะแล้วบันทึกลงหน่วยความจำชั่วคราว หลังจากนั้นหน่วยประมวลผลจะทำการนำข้อมูลประมวลผลไปเปรียบเทียบข้อมูลหลัก เช่น แบบอักษร สี ขนาดแล้วส่งต่อมายังหน้าจอภาพเพื่อเป็นการแสดงผลลัพธ์
หน่วยที่เล็กที่สุดในการมองของคอมพิวเตอร์
Bit หรือ บิท เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดในการมองของคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นวงจรเปิดและปิด จึงถูกนำมาเปรียบเทียบกับเลขฐาน 2 เช่นถ้าใช้ 2 บิท จะสื่อได้คือ 00,01,10,11
จงเรียงลำดับโครงสร้างข้อมูลของการมองของผู้ใช้งานจากขนาดเล็กไปใหญ่
จากการมองของผู้ใช้ข้อมูลจะสามารถเรียงลำดับจากเล็กไปใหญ่ได้ดังนี้
1. ตัวอักขระ(Character) เช่น ตัวอักษร ตัวเลข หรือ สัญลักษณ์
2. เขตข้อมูล(Field) หรือ รายการ(Item) คือ การนำอักขระมาเรียงกันจนมีความหมาย เช่น คำ, ชื่อ, นามสกุล
3. ระเบียน(Record) คือกลุ่มของฟิลด์ที่มีความสัมพันธ์กันมารวมกัน
4. แฟ้มข้อมูล(File) คือ การนำเรคคอร์ดชนิดเดียวกันมารวมไว้ด้วยกัน เช่นแฟ้มข้อมูลสินค้าในการประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งได้เป็น
- แฟ้มข้อมูลหลัก(Master file) คือ แฟ้มข้อมูลที่เก็บข้อมูลถาวร โดยปกติมักไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง
- แฟ้มรายการ(Transaction file) คือ แฟ้มข้อมูลที่รวบรวมการเปลี่ยนแปลงบางอย่างของแฟ้มข้อมูลหลัก เก็บเป็นรายย่อยๆ
บทที่ 4
การสื่อสารข้อมูลบนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
การสื่อสารข้อมูลบนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
สื่อกลางประเภทมีสาย มีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง จงเปรียบเทียบ
สายคู่บิดเกลียว (Twisted Pair Cable)
ข้อดี
· ราคาถูก
· มีน้ำหนักเบา
· ง่ายต่อการใช้งาน
ข้อเสีย
· มีความเร็วจำกัด
· ใช้กับระยะทางสั้นๆ
สายโคแอกเชียล (Coaxial)
ข้อดี
· เชื่อมต่อได้ในระยะไกล
· ป้องกันสัญญาณรบกวนได้ดี
ข้อเสีย
· มีราคาแพง
· สายมีขนาดใหญ่
· ติดตั้งยาก
สายใยแก้วนำแสง(Optic Fiber)
ข้อดี
· มีขนาดเล็กน้ำหนักเบา
· มีความปลอดภัยในการส่งข้อมูล
· มีความทนทานและมีอายุการใช้งานยาวนาน
ข้อเสีย
· เส้นใยแก้วมีความเปราะบาง แตกหักง่าย
· มีราคาสูง เมื่อเทียบกับสายเคเบิลทั่วไป
· การติดตั้งจำเป็นต้องพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ
สื่อกลางประเภทไม่มีสาย มีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง จงเปรียบเทียบ
ข้อดี-ข้อเสีย ของการสื่อสารด้วยดาวเทียม
ข้อดี
การส่งข้อมูลหรือการส่งสัญญาณแบบดาวเทียมจะสามารถรับ-ส่ง ข้อมูลได้เร็ว สะดวกต่อการติดต่อสื่อสาร และสามารถส่งข้อมูลได้ในระยะทางที่ไกล
ข้อเสีย
การส่งสัญญาณข้อมูลทางดาวเทียมก็คือระบบดาวเทียมนั้น คล้ายกับไมโครเวฟ คือ อาจจะ ถูกกระทบโดยสภาพอากาศ ดังนั้น มีการล่าช้าของสัญญาณในการส่งข้อมูลแต่ละช่วง ดังนั้นการเชื่อมโยงข้อมูล จัดการกับปัญหาความล่าช้า สัญญาณข้อมูลสามารถถูกรบกวนจากสัญญาณ ภาคพื้นอื่น ๆ ได้ อีก ในการส่งสัญญาณเนื่องจากระยะทางขึ้น-ลง ของสัญญาณ และที่สำคัญคือ มีราคาสูงในการลงทุนทำให้ค่าบริการสูงตามขึ้นมา
ข้อดี
การส่งข้อมูลหรือการส่งสัญญาณแบบดาวเทียมจะสามารถรับ-ส่ง ข้อมูลได้เร็ว สะดวกต่อการติดต่อสื่อสาร และสามารถส่งข้อมูลได้ในระยะทางที่ไกล
ข้อเสีย
การส่งสัญญาณข้อมูลทางดาวเทียมก็คือระบบดาวเทียมนั้น คล้ายกับไมโครเวฟ คือ อาจจะ ถูกกระทบโดยสภาพอากาศ ดังนั้น มีการล่าช้าของสัญญาณในการส่งข้อมูลแต่ละช่วง ดังนั้นการเชื่อมโยงข้อมูล จัดการกับปัญหาความล่าช้า สัญญาณข้อมูลสามารถถูกรบกวนจากสัญญาณ ภาคพื้นอื่น ๆ ได้ อีก ในการส่งสัญญาณเนื่องจากระยะทางขึ้น-ลง ของสัญญาณ และที่สำคัญคือ มีราคาสูงในการลงทุนทำให้ค่าบริการสูงตามขึ้นมา
ข้อดี-ข้อเสียของระบบไมโครเวฟ (Microwave System)
ข้อดี
ข้อดี
สัญญาณคลื่นความถี่ประมาณ 100 เมกะเฮิรตซ์ เดินทางเป็นเส้นตรง ทำให้สามารถปรับทิศทางการส่งได้แน่นอน การบีบสัญญาณส่งให้เป็นลำแคบ ๆ จะทำให้มีพลังงานสูง สัญญาณรบกวนต่ำ การปรับจานรับและจานส่งสัญญาณให้ตรงกันพอดี จะทำให้สามารถส่งสัญญาณได้หลายความถี่ไปในทิศทางเดียวกันได้ โดยไม่รบกวนกัน
ข้อเสีย
ข้อเสีย
คลื่นไมโครเวฟไม่สามารถเดินผ่านวัตถุที่กีดขวางได้ สัญญาณอาจเกิดการหักเหในระหว่างเดินทางทำให้มาถึงจาน
รับสัญญาณช้ากว่าปกติและสัญญาณบางส่วนอาจสูญหายได้ เรียกว่าเกิด “multipath fading”
รับสัญญาณช้ากว่าปกติและสัญญาณบางส่วนอาจสูญหายได้ เรียกว่าเกิด “multipath fading”
PAN และ SAN คืออะไร จงอธิบาย
PAN (Personal Area Network) คือ "ระบบการติดต่อสื่อสารไร้สายส่วนบุคคล" ย่อมาจาก Personal Area Network หรือเรียกว่า BluetoothPersonal Area Network (PAN)คือเทคโนโลยีการเข้าถึงไร้สายในพื้นที่เฉพาะส่วนบุคคล โดยมีระยะทางไม่เกิน 1เมตร และมีอัตราการรับส่งข้อมูลความเร็วสูงมาก (สูงถึง 480 Mbps) ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้กันแพร หลาย ก็เช่น• Ultra Wide Band (UWB) ตามมาตรฐาน IEEE 802.15.3a• Bluetooth ตามมาตรฐาน IEEE 802.15.1• Zigbee ตามมาตรฐาน IEEE 802.15.4เทคโนโลยีเหล่านี้ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง(peripherals) ให้สามารถรับส่งข้อมูลถึงกันได้ และยังใช้สำหรับการรับส่งสัญญาณวิดีโอที่มีความละเอียดภาพสูง (high-definition video signal) ได้ด้วยPersonal Area Network (PAN)ช่วยให้เราสามารถจัดการข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ต่างๆที่เคลื่อนที่ไปมาได้อย่างหลากหลาย
SAN = (Storage Area Network) เป็นเทคโนโลยีเพื่อช่วยเข้าถึงข้อมูลในอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์ เพื่อเข้ามาแทนที่การเชื่อมต่ออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลโดยตรงอย่าง Direct Attached Storage (DAS) ซึ่งมีข้อจำกัดอยู่หลายอย่าง เช่น ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล ความถูกต้องของข้อมูล หรือ พื้นที่จัดเก็บ ให้เกิดความยืดหยุ่นในการเข้าถึงอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลมากกว่า โดยมีพื้นฐานมาจากมาตรฐานเปิดเน็ตเวิร์กโปรโตคอล
ปัจจุบันการต่อเชื่อมของ SAN จะมี 2 รูปแบบ หรือ 2 Protocol คือ Fibre Channel Protocol และ iSCSI
- FC จะเป็นการต่อเชื่อมโดยใช้สายไฟเบอร์ในการเชื่อมต่อและจะต้องมี SAN Switch โดยมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 4Gbps และ 8Gbps รวมถึงต้องมี interface card ที่เรียกว่า Host Bus Adapter (HBA)
- iSCSI จะเชื่อมต่อโดยใช้สาย LAN (RJ45) สามารถใช้ Network Switch เดิมที่มีอยู่ได้เลย ความเร็วขึ้นอยู่กับ network ที่ใช้ว่าเป็น 1Gbps หรือ 10Gbps โดยสามารถใช้ LAN Card เดิมที่มีอยู่ก็สามารถใช้งานได้ โดยจะต้องลง software iSCSI initiator (จะใช้ความสามารถของ CPU และ memory ของ server ในการประมวลผล)
- FC จะเป็นการต่อเชื่อมโดยใช้สายไฟเบอร์ในการเชื่อมต่อและจะต้องมี SAN Switch โดยมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 4Gbps และ 8Gbps รวมถึงต้องมี interface card ที่เรียกว่า Host Bus Adapter (HBA)
- iSCSI จะเชื่อมต่อโดยใช้สาย LAN (RJ45) สามารถใช้ Network Switch เดิมที่มีอยู่ได้เลย ความเร็วขึ้นอยู่กับ network ที่ใช้ว่าเป็น 1Gbps หรือ 10Gbps โดยสามารถใช้ LAN Card เดิมที่มีอยู่ก็สามารถใช้งานได้ โดยจะต้องลง software iSCSI initiator (จะใช้ความสามารถของ CPU และ memory ของ server ในการประมวลผล)
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น